กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน


กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน


นำเรื่อง
   กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สันนิษฐานว่าทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อชมสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ซึ่งมีฝีพระหัตถ์ในการแต่งเครื่องเสวย ขึ้นต้นด้วยโคลงสี่สุภาพ ๑ บท และตามด้วยกาพย์ยานี ๑๑ ไม่จำกัดจำนวนบท โดยโคลงสี่สุภาพและกาพย์ยานี ๑๑ บทแรกจะสัมพันธ์กัน แบ่งออกเป็น ๕ ช่วง คือ บทเห่ชมเครื่องคาว บทเห่ชมผลไม้ บทเห่ชมเครื่องหวาน บทเห่ครวญเข้ากับงานนักขัตฤกษ์ และบทเห่เจ้าเซ็น

ศัพท์น่ารู้
กล                                   เหมือน
ความขำ                            ความลับ ในที่นี้หมายถึง ความลับระหว่างกวีกับนางอันเป็นที่รัก
เคร่า                                 คอย
แด                                   ใจ
เทโพ                               ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด
นิทร (นิด)                         นอน
ไฟฟอน                            กองไฟที่ดับลงแล้วแต่ยังมีความร้อนระอุอยู่
ภุญช์                                อาหาร รับประทาน
มือนาง                              ฝีมือของนาง
ย่อง                                 ลอยเหนือขึ้นมา เช่น แกงมันย่อง ขัดพื้นเปนมันย่อง
รางชาง                            สวยงาม
หื่นหอม                            กลิ่นหอมมากจนเร้าอารมณ์

ประวัติผู้แต่ง
   พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (เจ้าฟ้าชายฉิม) ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๔ ในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อสมเด็จพระราชบิดาได้ปราบดาภิเษก พระองค์ก็ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ต่อมาได้พระราชทานอุปราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และได้ราชาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์สืบแทนพระบรมชนก




   ผลงานของพระพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยสืบเนื่องพระราชกรณียกิจจากพระบรมชนก ฟื้นฟูประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้งยังทรงมีพระอัฉริยะภาพทางด้านศิลปะ ได้แก่ ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ดนตรี นาฏศิลป์ และวรรณคดี พระราชนิพนธ์ที่สำคัญ เช่น เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน (บางตอน) บทละครเรื่อง อิเหนา รามเกียรติ์ สังข์ทอง ฯลฯ
   กาพย์ เป็นคำประพันธ์ที่ได้แบบอย่างมาจากคัมภีร์วุตโตทัย มาจากคำว่า “กวิ” ซึ่งหมายถึงผู้แต่งคำประพันธ์ จึงเรียกงานของกวีว่า “กาพย์” ทั้งนี้กาพย์เริ่มมีตั้งแต่สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คือ กาพย์เห่เรือฉบับเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร โดยรูปแบบการแต่งขึ้นด้วยโคลงสี่สุภาพ ๑ บทแล้วตามด้วยกาพย์ยานี ๑๑ ไม่จำกัดจำนวนบท หากจบจึงขึ้นตอนใหม่ด้วยโคลงสี่สุภาพอีกครั้งและใช้กาพย์ยานี ๑๑ บรรยายความเช่นเดิม นิยมให้โคลงสี่สุภาพและกาพย์บทแรกมีเนื้อความตรงกัน ดังตัวอย่างจากกาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ดังนี้

                             โคลง     ปางเสด็จประเวศด้าว            ชลาลัย
                                       ทรงรัตนพิมานชัย                     กิ่งแก้ว
                                       พรั่งพร้อมพวกพลไกร               แหนแห่
                                       เรือกระบวนต้นแพร้ว                 เพริศพริ้งพายทอง

                             กาพย์    พระเสด็จโดยแดนชล           ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
                                       กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย              พายอ่อนหยับจับงามงอน
                                          นาวาแน่นเป็นขนัด               ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
                                       เรือริ้วทิวธงสลอน                    สาครลั่นครั่นครืนฟอง
                                          เรือครุฑยุดนาคหิ้ว                ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
                                       พลพายกรายพายทอง              ร้องโห่เห่โอ้เห่มา



แนวทางในการพิจารณาวรรณกรรม

   เนื้อเรื่อง
   กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กล่าวถึงลักษณะเด่นของอาหารไทยโบราณชนิดต่าง ๆ ซึ่งสะท้อนถึงความประณีตในวัฒนธรรมด้านอาหารของคนไทย โดยพระราชนิพนธ์เชื่อมโยงอาหารกับนางผู้เป็นที่รักอย่างกลมกลืนแยบคาย ผู้อ่านจึงได้ความรู้ด้านเรื่องอาหารพร้อมกับความเพลิดเพลินจากบทประพันธ์

   ศิลปะการประพันธ์
   ๑. มีการกล่าวถึงนางผู้เป็นที่รักอยู่โดยตลอดทั้งเรื่อง เช่น
                                      “ตับเหล็กลวกหล่อนต้ม              เจือน้ำส้มโรยพริกไทย
                                    โอชาจะหาไหน                           ไม่มีเทียบเปรียบมือนาง”

   ๒. มีการแสดงอารมณ์รัก เช่น
                                       “ความรักยักเปลี่ยนท่า               ทำน้ำยาอย่างแกงขม
                                     กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม              ชมมิวายคลับคล้ายเห็น”

   ๓. มีการเล่นคำ เช่น
                                       “ล่าเตียงคิดเตียงน้อง                นอนเตียงทองทำเมืองบน
                                     ลดหลั่นชั้นชอบกล                      ยลอยากนิทรคิดแนบนอน”

   ๔. มีการเล่นเสียงสัมผัสใน ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะ เช่น
                                       “เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า               รุมรุ่มเร้าคือไฟฟอน
                                     เจ็บไกลใจอาวรณ์                       ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง”

   ๕. มีการใช้ถ้อยคำเปรียบเทียบลึกซึ้งกินใจ ทำให้ผู้อ่านเกิดมโนภาพ เช่น
                                       “รังนกนึ่งน่าซด                        โอชารสกว่าทั้งปวง
                                     นกพรากจากรังรวง                      เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน”

   ๖. มีการแทรกความรู้เกี่ยวกับสภาพสังคมในยุคนั้น ๆ เช่น การติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ เช่น
                                       “ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ                รสพิเศษใส่ลูกเอ็น
                                     ใครหุงปรุงไม่เป็น                        เช่นเชิงมิตรประดิษฐ์ทำ” 
โคลง
       แกงไก่มัสมั่นเนื้อ
หอมยี่หร่ารสฉุน
ชายใดบริโภคภุญช์
แรงอยากยอหัตถ์ช้อน

กาพย์
โคลง

       มัสมั่นแกงแก้วตา
ชายใดได้กลิ่นแกง
       ยำใหญใส่สารพัด
รสดีด้วยน้ำปลา
       ตับเหล็กลวกหล่อนต้น
โอชาจะหาไหน
       หมูแนมแหลมเลิศรส
พิศห่อเห็นรางชาง
       ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น
รสทิพย์หยิบมาโปรย
       เทโพพื้นเนื้อทอง
น่าซดรสครามครัน
       ความรักยักเปลี่ยนท่า
กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม
       ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ
ใครหุงปรุงไม่เป็น
       เหลือรู้หมูป่าต้ม
รอยแจ้งแห่งความขำ
       ช้าช้าพล่าเนื้อสด
คิดความยามถนอม
       ล่าเตียงคิดเตียงน้อง
ลดหลั่นชั้นชอบกล
       เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า
เจ็บไกลใจอาวรณ์
       รังนกนึ่งน่าซด
นกพรากจากรังรวง
       ไตปลาเสแสร้งว่า
ใบโศรกบอกโศรกครวญ
       ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง
ผักหวานซ่านทรวงใน

โคลง
       ผลชิดแช่อิ่มโอ้
หอมชื่นกลืนหวานใน
รื่นรื่นรสรมย์ใด
หวานเลิศเลือรู้รู้

กาพย์
       ผลชิดแช่อิ่มอบ
รสไหนไม่เปรียบปาน
       ตาลเฉาะเหมาะใจจริง
คิดความยามพิศมัย
       ผลจากเจ้าลอยแก้ว
จากช้ำน้ำตากระเด็น
       หมากปรางนางปอกแล้ว
ยามชื่นรื่นโรยแสง
       หวนห่วงม่วงหมอนทอง
คิดความยามนิทรา
       ลิ้นจี่มีครุ่นครุ่น
หวนถวิลลิ้นลมงอน
       พลับจีนจักด้วยมีด
คิดโอษฐ์อ่อนยิ้มยวน
       น้อยหน่านำเมล็ดออก
มือใครไหนจักทัน
       ผลเกดพิเศษสด
คำนึงถึงเอวบาง
       ทับทิมพริ้มตราตรู
สุกแสงแดงจักย้อย
       ทุเรียนเจียนตองปู
เหมือนศรีฉวีกาย
       ลางสาดแสวงเนื้อหอม
กลืนทางพลางเพ่งพิศ
       ผลเงาะไม่งามแงะ
หวนเห็นเช่นรจนา
       สละสำแรงผล
ท้าทิ่มปิ้มปีนกาม

       สังขยาหน้าไข่คุ้น
แกมกับข้าวเหนียวสี
เป็นนัยนำวาที
แถลงว่าโศกเสมอพร้อม

กาพย์
       สังขยาหน้าตั้งไข่
เป็นนัยไม่เคลือบแคลง
       ซ่าหลิ่มลิ้มหวานล้ำ
วิตกอกแห้งเครือ
       ลำเจียกชื่อขนม
ไกลกลิ่นดิ้นแดโดย
       มัศกอดกอดอย่างไร
กอดเคล้นจะเห็นความ
       ลุดตี่นี้น่าชม
โอชาน่าไก่แกง
       ขนมจีบเจ้าจีบห่อ
นึกน้องนุ่งจีบถวาย
       รสรักยักลำนำ
คำนึงนิ้วนางเจียน
       ทองหยิบทิพย์เทียมทัด
หลงหยิบว่ายาดม
       ขนมผิงผิงผ่าวร้อน
ร้อนนักรักแรมไกล
       รังไรโรยด้วยแป้ง
โอ้อกนกทั้งปวง
       ทองหยอดทอดสนิท
สองปีสองปิดปัง
       งามจริงจ่ามงกุฏ
เรียมร่ำคำนึงปอง
       บัวลอยเล่ห์บัวงาม
ปลั่งเปล่งเคร่งยุคล
       ช่อม่วงเหมาะมีรส
คิดสีสไบคลุม
       ฝอยทองเป็นยองใย
คิดความยามเยาวมาลย์



นพคุณ พี่เอย
เฉียบร้อน
พิศวาส หวังนา
อกให้หวนแสวงฯ


หอมยี่หร่ารสร้อนแรง
แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา
วางจานจัดหลายเหลือตรา
ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ
เจือน้ำส้มโรยพริกไทย
ไม่มีเทียบเปรียบมือนาง
พริกไทยสดใบทองหลาง
ห่างห่อหวนป่วนใจโหย
วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย
ฤาจะเปรียบเทียบทันขวัญ
เป็นมันย่องล่องลอยมัน
ของสวรรค์เสวยรมย์
ทำน้ำยาอย่างแกงขม
ชมไม่วายคลับคล้ายเห็น
รสพิเศษใส่ลูกเอ็น
เช่นเชิงมิตรประดิษฐ์ทำ
แกงคั่วส้มใส่ระกำ
ช้ำทรวงเศร้าเจ้าตรากตรอม
ฟุ้งปรากฏรสหื่นหอม
สนิทเนื้อเจือเสาวคนธ์
นอนเตียงทองทำเมียงบน
ยนอยากนิทรคิดแนบนอน
รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน
ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง
โอชารสกว่าทั้งปวง
เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน
ดุจวาจากระบิดกระบวน
ให้พี่เคร่าเจ้าดวงใจ
เป็นโฉมน้องฤาโฉมไหน
ใคร่ครวญรักผักหวานนางฯ


เอมใจ
อกชู้
ฤาดุจ นี้แม่
แต่เนื้อนงพาลฯ


หอมตรลบล้ำเหลือหวาน
หวานเหลือแล้วแก้วกลอยใจ
รสเย็นยิ่งยิ่งเย็นใจ
หมายเหมือนจริงยิ่งอยากเห็น
บอกความแล้วจากจำเป็น
เป็นทุกข์ท่าหน้านวลแตง
ใส่โถแก้วแพร้วพรายแสง
ปรางอิ่มอาบซาบนาสา
อีกอกร่องรสโอชา
อุราแนบแอบอกอร
เรียกส้มฉุนใช้นามกร
ชะอ้อนถ้อยร้อยกระบวน
ทำประณีตน้ำตาลกวน
ยลยิ่งพลับยับยับพรรณ
ป้อนเปลือกออกเป็นอัศจรรย์
เทียบเทียมที่ฝีมือนาง
โอชารสล้ำเหลือปาง
สางเกศเส้นขนเม่นสอย
ใส่จานดูดุจเม็ดพลอย
อย่างแหวนก้อยแก้วตาชาย
เนื้อดีดูเหลืองเรืองพลอย
สายสวาทพี่ที่คู่คิด
ผลงอมงอมรสหวานสนิท
คิดยามสาทรยาตรามา
มล่อนเมล็ดและเหลือปัญญา
จ๋าเจ้าเงาะเพราะเห็นงาม
คิดลำต้นแน่นหนาหนาม
นามสละมละเมตตา


เคมี
โศกย้อม
สมรแม่ มาแม่
เพียบแอ้อกอรฯ


ข้าวเหนียวใส่สีโศกแสดง
แจ้งว่าเจ้าเศร้าโศกเหลือ
แทรกใส่น้ำกะทิเจือ
ได้เสพย์หริ่มพิมเสนโรย
นึกโฉมฉมหอมชวยโชย
โหยไห้หาบุหงางาม
น่าสงสัยใคร่ขอถาม
ขนมนามนี้ยังแคลง
แผ่แผ่นกลมเพียงแผ่นแผง
แคลงของแขกแปลกกลิ่นอาย
งามสมส่อประพิมประพาย
ชายพกจีบกลีบแนบเนียน
ประดิษฐ์ทำขนมเทียน
เทียนหล่อเหลาเกลากลึงกลม
สามหยิบชัดน่าเชยชม
ก้มหน้าเมินเขินขวยใจ
เพียงไฟฟอนฟอกทรวงใน
เมื่อไรเห็นจะเย็นทรวง
เหมือนนกแกล้งทำรังรวง
ยังยินดีด้วยมีรัง
ทองม้วนมิดคิดความหลัง
แต่ลำพังสองต่อสอง
ใส่ชื่อดุจมงกุฏทอง
สะอิ้งน้องนั้นเคยยล
คิดบัวกามแก้วกับตน
สถนนุชดุจประทุม
หอมปรากฏกลโกสุม
หุ้มห่อม่วงดวงพุดตาน
เหมือนเส้นไหมไข่ของหวาน
เย็บชุนใช้ไหมทองจีนฯ

   ข้อคิด คติคำสอน และความจรรโลงใจ
   ๑. ให้ความรู้และแสดงถึงความประณีตในการทำอาหารของคนไทยในทุกขั้นตอนจากการพรรณนา
   ๒. ให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพสังคมยุคสมัยนั้น เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
   ๓. ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมการทำอาหารของคนไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่ไม่มีผู้ใดสามารถเลียนแบบได้

   การนำไปใช้ในชีวิตจริง
   ๑. คนไทยตระหนักในคุณค่าทางโภชนาการอาหารไทยที่มีไม่แพ้อาหารนานาชาติ
   ๒. อาหารไทยเป็นเครื่องสื่อความรัก ความห่วงใย และความผูกพันของคนในครอบครัว

สรุป
   กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน แสดงให้เห็นถึงความงามในวัฒนธรรมด้านอาหารการกินของคนไทยที่มีความประณีต ทำให้อาหารแต่ละชนิดมีลักษณะเด่นที่ต่างกันออกไป

ความคิดเห็น

  1. ทุเรียนเจียนตองปู เนื้อดีดูเหลืองเรืองพราย เหมือนสีฉวีกาย สายสวาทพี่ที่คู่คิด

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิราศภูเขาทอง