บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2019

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

รูปภาพ
กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน นำเรื่อง    กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สันนิษฐานว่าทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อชมสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ซึ่งมีฝีพระหัตถ์ในการแต่งเครื่องเสวย ขึ้นต้นด้วยโคลงสี่สุภาพ ๑ บท และตามด้วยกาพย์ยานี ๑๑ ไม่จำกัดจำนวนบท โดยโคลงสี่สุภาพและกาพย์ยานี ๑๑ บทแรกจะสัมพันธ์กัน แบ่งออกเป็น ๕ ช่วง คือ บทเห่ชมเครื่องคาว บทเห่ชมผลไม้ บทเห่ชมเครื่องหวาน บทเห่ครวญเข้ากับงานนักขัตฤกษ์ และบทเห่เจ้าเซ็น ศัพท์น่ารู้ กล                                   เหมือน ความขำ                            ความลับ ในที่นี้หมายถึง ความลับระหว่างกวีกับนางอันเป็นที่รัก เคร่า                                 คอย แด                                   ใจ เทโพ                               ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด นิทร (นิด)                         นอน ไฟฟอน                            กองไฟที่ดับลงแล้วแต่ยังมีความร้อนระอุอยู่ ภุญช์                                อาหาร รับประทาน มือนาง                              ฝีมือของนาง ย่อง  

นิราศภูเขาทอง

รูปภาพ
นิราศภูเขาทอง เจดีย์ภูเขาทอง ความเป็นมา             สุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อราวปลาย พ.ศ. ๒๓๕๓ โดยเล่าถึงการเดินทางเพื่อไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทองที่เมืองกรุงเก่าหรือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน หลังจากจำพรรษาอยู่ที่วัดราช-บุรณะหรือวัดเลียบ นิราศ             นิราศเรื่องแรกของไทยนั้น ได้แก่ โคลงนิราศหริภุญชัย  เนื้อหาของนิราศส่วนใหญ่มักเป็นการคร่ำครวญของกวี ต่อ สตรีอันเป็นที่รัก เนื่องจากต้องพลัดพรากจากนางมาไกล อย่างไรก็ตาม นางในนิราศที่กวีพรรณนาว่าจากมานั้นอาจมีตัวตนหรือไม่มีก็ได้ แต่กวีส่วนใหญ่ถือว่านางเป็นที่รักเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเอื้อให้กวีแต่งนิราศได้ไพเราะแม้ในสมัยหลังกวีอาจไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องการคร่ำครวญถึงนาง แต่เน้นที่การบันทึกระยะทางการเดินทาง ลักษณะคำประพันธ์ แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทกลอนนิราศซึ่งมีลักษณะคล้ายกลอนสุภาพแต่มีความแตกต่างกันตรงที่กลอนนิราศจะแต่งขึ้นต้นเรื่องด้วยกลอนวรรครับและจะจบลงด้วยคำว่า ” เอย ”